ชีววิทยา
(สาระที่ 1
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต และสาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม)จำนวน
18
ข้อ
๑.เมื่อหยดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสภายในเซลล์
0.05 โมลาร์ลงไปในสารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 0.01
โมลาร์ ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
1. น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์
ทำให้เซลล์เต่ง 2. น้ำจากในเซลล์ ออสโมซิสออกไปนอกเซลล์
3. เซลล์อยู่ในสภาพปกติ
ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง 4. การออสโมซิสจะเกิดขึ้นด้วยอัตราเร็วที่เพิ่มขึ้น
5. แรงดันในเซลล์ที่เกิดขึ้นจากการออสโมซิส
แปรผกผันกับความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์
วิเคราะห์แนวคำตอบ 1 เนื่องจากสารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 0.01 โมลาร์ เป็นสารละลาย Hypotonic คือ เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าของเหลวภายในเซลล์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Plasmoptysis นำจึงออสโมซิสเข้าไปในเซลล์ ทำให้เกิดแรงดันเต่ง (Turgor pressure) จึงทำให้เซลล์เต่ง
๒.
ข้อใดไม่ใช่กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
1. เวลาเล่นกีฬาจะมีเหงื่อออกมา 2. เม็ดเลือดขาวทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
3. ปลาทะเลขับเกลือส่วนเกินออกทางปัสสาวะ 4. พารามีเซียมมีคอนแทรกไทล์แวคิวโอล
5. เมื่อเลือดเข้มข้นขึ้น
สมองส่วนไฮโพทาลามัสจะทำให้รู้สึกกระหายน้ำ
วิเคราะห์แนวคำตอบ 2 เม็ดเลือดขาวทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเป็นกลไกภูมิคุ้มกัน
๓.
เมื่อพืชประสบปัญหาภาวะขาดน้ำ พืชจะมีการปรับตัวตามข้อใดต่อไปนี้
1. น้ำแพร่เข้าเซลล์คุม 2. น้ำแพร่ออกจากเซลล์คุม
3. มีการสังเคราะห์กรดแอนตาซิก
4. หยุดการสังเคราะห์กรดแอนตาซิก 5. ปากใบปิด
วิเคราะห์แนวคำตอบ 5 ปากใบปิดเพื่อลดการคายน้ำ
๔.
จากแผนภาพกลไกการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
ถ้าชายคนหนึ่งไปเล่นกีฬากลางแจ้งเป็นเวลานาน
จะเกิดผลอย่างไร
1. ไม่ค่อยกระหายน้ำ 2. ท่อหน่วยไตหดสั้นลง 3.
ท่อหน่วยไตยืดยาวขึ้น
4. ปัสสาวะลดลงและเข้มข้มกว่าปกติ 5. ปัสสาวะมากและเจือจางกว่าปกติ
วิเคราะห์แนวคำตอบ 4 การเล่นกีฬากลางแจ้งทำให้สูญเสียเหงื่อ ระดับน้ำในร่างกายลดลง จึงไปกระตุ้นสมองส่วนไฮโพทาลามัส ให้ไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลัง หลั่งฮอร์โมน ADH ทำให้หน่วยไตดูดน้ำกลับ ปัสสาวะลดลงและเข้มข้นกว่าปกติ
๕.ข้อใดเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นโรคไตได้ดีที่สุด
1. ไม่ทานอาหารที่มีรสขม 2. ไม่ดื่มน้ำอัดลม
3. ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดแน่น
4. ไม่ออกกำลังกายตอนเช้า 5. ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
วิเคราะห์แนวคำตอบ 5 วิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นโรคไตได้ดีที่สุด คือ การไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
๖.เด็กคนหนึ่งเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
แม้จะเล่นคลุกคลีกับเพื่อนที่เป็นโรคอีสุกอีใสเด็กคนนี้ก็ไม่เป็นอีก
แสดงว่าเด็กคนนี้มีการสร้างภูมิคุ้มกันแบบใด
1.ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด 2. ภูมิคุ้มกันไม่จำเพาะ 3. ภูมิคุ้มกันก่อเอง
4. ภูมิคุ้มกันรับมา 5. ภูมิคุ้มกันส่งต่อไป
วิเคราะห์แนวคำตอบ 3 ภูมิคุ้มกันแบ่งเป็น 2 ระบบ 1)ภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการนำสารที่เป็นแอนติเจน ที่ไม่สามารถก่อโรคได้ มาฉีด กิน หรือทา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านแอนติเจนนั้นๆ ได้แก่ วัคซีน
2)ภูมิคุ้มกันแบบรับมา เป็นการรับแอนติบอดีจากภายนอกมาเลย โดยไม่ต้องรับแอนติเจน เช่น น้ำนมแม่ เซรุ่ม
ดังนั่น การที่เด็กเคยรับเป็นอีสุกอีใส จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมา จึงเป็นภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง
2)ภูมิคุ้มกันแบบรับมา เป็นการรับแอนติบอดีจากภายนอกมาเลย โดยไม่ต้องรับแอนติเจน เช่น น้ำนมแม่ เซรุ่ม
ดังนั่น การที่เด็กเคยรับเป็นอีสุกอีใส จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมา จึงเป็นภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง
๗.
ข้อมูลต่อไปนี้แสดงลักษณะศีรษะล้านและศีรษะไม่ล้าน
ซึ่งถูกควบคุมด้วยอัลลีล B และ b
จีโนไทป์
|
ชาย
|
หญิง
|
BB
|
ล้าน
|
ล้าน
|
Bb
|
ล้าน
|
ไม่ล้าน
|
bb
|
ไม่ล้าน
|
ไม่ล้าน
|
สามีภรรยาคู่หนึ่งมีลูกสาวหนึ่งคน
ภรรยามีศีรษะล้าน สามีมีผมปกติ
ลูกสาวของสามีภรรยาคู่นี้จะมีโอกาสศีรษะล้านคิดเป็นร้อยละเท่าใด
1. 100 2.
75 3. 50 4. 25 5. 0
วิเคราะห์แนวคำตอบ 5 ยีนหัวล้านเป็นยีนที่เพศมีผลต่อการแสดงออก โดยเป็นยีนเด่นในเพศชาย แต่เป็นยีนด้อยในเพศหญิง
๘.
จากการวิเคราะห์ปริมาณเบสใน DNA ของสัตว์ชนิดหนึ่ง
พบว่าประกอบด้วยเบส thymine 12.5% ของปริมาณเบสที่พบทั้งหมด
ข้อใดคืออัตราส่วนของ A: C : T : G
1. 37.5 : 12.5 : 12.5 : 37.5 2. 12.5 : 37.5 : 12.5 : 37.5
3.
37.5 : 37.5 : 12.5 : 12.5 4. 12.5 : 32.5 : 12.5 : 42.5
5. 32.5 : 12.5 : 12.5 : 42.5
วิเคราะห์แนวคำตอบ 2 ปริมาณเบส thymine(T) 12.5% จะมีจำนวนเท่ากับปริมาณเบสAdenine(A) 12.5% ดังนั้น ปริมาณเบสที่เหลือ คือ เบสGuanine 37.5% ซึ่งจะมีปริมาณเท่ากับเบสCytosine 37.5%
๙.
องค์ประกอบใดจำเป็นสำหรับกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม(Transcription)
1.
mRNA 2. สาย RNA
ต้นแบบ 3. RNA
polymerase 4. DNA polymerase 5. Ribosome
วิเคราะห์แนวคำตอบ 3 การสังเคราะห์โปรตีน มี 2 ขั้นตอน คือ การถอดรหัสพันธุกรรม(Transcription) และการแปลรหัสพันธุกรรม(Translation) ส่วนการถอดรหัสพันธุกรรมนั้น เป็นการส่งข้อมูลพันธุกรรมภายในนิวเคลียสของเซลล์ยูคาริโอต นำข้อมูลจาก DNA มาสร้างเป็นสาย mRNA แล้วส่งออกไปยังไซโทพลาสซึม เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปลรหัสพันธุกรรม ต่อไป โดยใช้เอนไซม์ RNA Polymerase ทำงาน และใช้สายใดสายหนึ่งของ DNA แม่แบบเท่านั้น
๑๐.
สิ่งมีชีวิตในข้อใดที่จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMO)
1. เซลล์แบคทีเรียที่มียีนอินซูลินของคน
2. ต้นกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
3. แตงโมที่คัดพันธุ์ให้มีเมล็ดลีบ
4. ปลาทับทิมที่ผสมปรับปรุงพันธุ์มาจากปลานิลแดง
5. ต้นพุทธรักษาที่เกิดจากการกลายพันธุ์อันเนื่องมาจากการฉายรังสีแกมมา
วิเคราะห์แนวคำตอบ 1 สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม(GMOs) คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการตัดต่อยีนหรือรับยีนเข้าไปใหม่ เช่น การเอายีนสร้างอินซูลิน(Insulin) ของคนใส่ให้กับแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ แล้วนำมาใช้ประโยชน์ต่อ เพื่อเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขาดฮอร์โมนอินซูลิน
๑๑.
พืชในข้อใดต่อไปนี้ มักพบในป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุด
1. ต้นสัก 2. ต้นไผ่ 3. ต้นสนสองใบ 4. ต้นชายผ้าสีดา 5. ต้นกระบองเพชร
วิเคราะห์แนวคำตอบ 4 ชายผ้าสีดา เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง ที่พบในป่าดิบชื้นซึ่งเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
๑๒.
ข้อใดอธิบายได้ดีที่สุดถึงผลของวิวัฒนาการที่มีต่อความหลากหลายของนกฟินช์บนหมู่เกาะกาลาปากอสซึ่งมีลักษณะจะงอยปากต่างกันไปแต่ละเกาะย่อย
1. เป็นนก species เดียวกันทั้งหมด
2. เป็นการปรับตัวทางด้านสรีรวิทยา
3. เกิดจากกลไกการแยกกันทางการสืบพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน
4. การคัดเลือกโดยธรรมชาติทำให้มีจะงอยปากเหมาะสมกับอาหารบนเกาะ
5. นกฟินช์เดิมมีหลาย species
แต่บังเอิญถูกพายุพัดมาอยู่บนเกาะเดียวกัน
วิเคราะห์แนวคำตอบ 4 การคัดเลือกโดยธรรมชาติทำให้มีจะงอยปากเหมาะสมกับอาหารบนเกาะ
๑๓. นักเรียนที่ไม่ยอมช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มส่งครู
มีลักษณะใกล้เคียงกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในข้อใดมากที่สุด
1. ปลาเหาฉลามที่เกาะบนตัวฉลาม
2. แบคทีเรียไรโซเบียมอาศัยอยู่ในปมรากถั่ว
3. มอสเจริญบนเปลือกของต้นจามจุรี
4. พยาธิอาศัยอยู่ที่ลำไส้ของนักเรียน
5. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินแทรกตัวอยู่กับรากลายเป็นไลเคน
วิเคราะห์แนวคำตอบ 4 พยาธิอาศัยอยู่ที่ลำไส้ เป็นภาวะปรสิต(+,-)
๑๔.
ข้อใดต่อไปนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุตติยภูมิ
1. ป่าไผ่ถูกไฟไหม้
แล้วมีต้นผักหวานขึ้นเต็มพื้นที่เดิม
2. หนองน้ำแห้งขอดมีดงหญ้าคางอกขึ้นเป็นหย่อมๆ
3. นาข้าวหลังเก็บเกี่ยวแล้วถูกชาวไร่ปลูกข้าวโพดแทนต้นข้าว
4. ต้นเฟิร์นเจริญเติบโตแทรกขึ้นแทนต้นไม้ใหญ่ที่โค่นล้มหลังน้ำป่าพัดมา
5. ในสนามมีกลุ่มสิ่งมีชีวิต
เช่น มด หญ้าเช้าชู้ ตั๊กแตน เห็ด อาศัยอยู่ร่วมกัน
วิเคราะห์แนวคำตอบ 1 การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุตติยภูมิ คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่โดยเริ่มจากมีสิ่งมีชีวิตเดิมอยู่แล้ว แต่มีการถูกทำลายไป เช่น ไฟไหม้ป่า
๑๕. กิจกรรมใดของมนุษย์ที่เป็นการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติได้มากที่สุด
1. การเก็บสมุนไพรจากป่า
2. การทำเกษตรอินทรีย์
3. การปลูกพืชเชิงเดี่ยว
4. การประกาศพื้นที่ป่าสงวน
5. การเลี้ยงไก่กลางแจ้ง
วิเคราะห์แนวคำตอบ 2 การทำเกษตรอินทรีย์มีการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย เป็นการปลูกพืชร่วมกันหลายชนิด ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียนชนิดต่างๆ จึงเป็นการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติได้มากที่สุด
๑๖.
กราฟการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแม่น้ำอันเนื่องมาจากมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งปล่อยน้ำเสียลงไป
นักเรียนคิดว่ากราฟใดน่าจะเป็นปริมาณของ BOD
1. A 2.
B 3. C 4. D 5. E
วิเคราะห์แนวคำตอบ 3 BOD(Biochemical Oxygen Demand) คือ ปริมาณแก๊สออกซิเจน ที่ต้องใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ โดยใช้จุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลาย น้ำสะอาดจะมีค่า BOD ต่ำ น้ำเสียจะมีค่า BOD สูง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแม่น้ำอันเนื่องจากมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ปล่อนน้ำเสียลงไปจึงเป็นไปตาม กราฟ C
17.
ชาวสวนผลไม้คนหนึ่งต้องการใช้สารเคมีฆ่าแมลงที่เป็นศัตรูพืช
เขาควรเลือกใช้ยาฆ่าแมลงที่มีคุณสมบัติอย่างไรที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
1. ละลายน้ำได้ดี
และถูกชะล้างลงแหล่งน้ำได้ง่าย 2.
สามารถสะสมในดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตได้เป็นเวลานาน
3. สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ 4. ถูกพืชดูดซึมได้ง่าย
และสะสมอยู่ในพืชได้นาน
5. ฆ่าแมลงได้หลากหลายชนิด
ทำให้ไม่ต้องฉีดพ่นบ่อย
วิเคราะห์แนวคำตอบ 3 ควรเลือกใช้ยาฆ่าแมลงที่มีคุณสมบัติสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
18.
การจัดการวัสดุเหลือใช้ตามแนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) คือข้อใด
1. การเอากระดาษที่พิมพ์แล้วหน้าเดียว
มาใช้เป็นกระดาษทดเลข
2. การทำโคมไฟประดิษฐ์จากขวดพลาสติก
3. การผลิตส่วนประกอบของแขนขาเทียมจากฝาเปิดกระป๋องน้ำอัดลม
4. การทำเสื้อชูชีพจากขวดน้ำดื่มพลาสติก
5. การเอาถุงพลาสติกที่ได้จากร้านค้า
กลับมาใช้อีกครั้งย
วิเคราะห์แนวคำตอบ 3 การนำกลับมาใช้ (recycle) คือ การนำวัสดุกลับมาใช้และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากเดิม เช่น การผลิตส่วนประกอบของแขนขาเทียมจากฝาเปิดกระป๋องน้ำอัดลม
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น